วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิธีการปลูกและดูแลมันสำปะหลังในช่วงปลายฝน เพื่อให้มันลอดในช่วงหน้าแล้ง


        ในปัจจุบันมีการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนกันมากใน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก คิดเป็นเนื้อที่ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด  ซึ่งการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนเกษตรกรมักนิยมปลูกในช่วง(เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) 


         ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินทราย และดินร่วนปนทราย เพราะว่า ดินเหนียวมีข้อจำกัดในด้านความชื้นของดินขณะปลูกมีผลให้เปอร์เซ็นต์ความงอก ของท่อนพันธุ์ต่ำ การปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนในดินทรายหรือดินร่วนปนทรายในระยะของการเจริญ เติบโตจะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 5 เดือน มันสำปะหลังสามารถใช้น้ำจากน้ำใต้ดินได้ในรูปน้ำซับ (capillary water) แต่ถ้าปลูกในดินเหนียว มันสำปะหลังมักแห้งตายหรือหยุดชงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากการขาดน้ำ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตมาก 
 ที่มา : http://web.sut.ac.th/cassava/?name=11cas_research&file=readknowledge&id=62
     
         แล้วเราจะมีวิธิการเตรียมตัวอย่างไรเพื่อที่จะให้มันที่เราปลูกนั้นสามารถทนอยู่ได้ในหน้าแล้งที่ยาวนาน  เกษตรกรท่านหนึ่งมีวิธีการที่ดีเกี่ยวกับวิธีการการปลูกและดูแลมันมาฝาก...ไปชมกันครับ


          การปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฝนค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นการตัดปัญหาเนื่องหญ้าได้พอสมควร การที่จะปล่อยให้ต้นมันเล็กข้ามฤดูแล้งที่ยาวนานนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง จะมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต ปัญหาเพลี้ยต่างๆปลวก แมลง ฯลฯ ซึ่งมีผลให้ผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
          วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการปลูกข้ามแล้งให้เพื่อนๆพิจารณานำไปปรับใช้กับแปลงมันของเพื่อนๆดังนี้ครับ


1. การเตรียม  : ดินควรไถให้ลึกควรใช้ผาล 3 ในการไถเพราะจะทำให้ไถได้ลึก เติมปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรืออินทรีย์วัตถุ ประมาณ 500 -1,000 กก./ไร่ เพื่อให้ดินโปร่งและสามารถกักเก็บความชื้นไว้ในดินให้ได้มากขึ้น ยาวนานขึ้น






2. ช่วงเวลาปลูก : ควรเลือกช่วงเวลาที่ดินมีความชื้น และฝนยังไม่ทิ้ง ยังจะมีฝนตกบ้าง  ช่วงเดือนกันยายน เป็นช่วงที่เหมาะพอสมควร เพราะยังจะมีฝนไปถึงปลายเดือนตุลาคม หรือบางปีอาจถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ต้องปลูกในช่วงนี้เพราะว่า ความชื้นมีผลกับการงอกของราก ซึ่งมีผลกับความดกของหัวมัน






3. เร่งบำรุงให้ต้นมันเล็กแข็งแรงและเติบโตก่อนจะเข้าแล้ง ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต เริ่มจากการแช่ท่อนพันธุ์ และฉีดพ่นให้อาหารทางใบ เพราะในช่วงแรกที่รากยังไม่เจริญเติบโต การให้อาหารทางใบมีความสำคัญมาก





4. ในช่วงฤดูแล้งความชื้นในดินมีน้อยหรือน้อยมากๆ รากไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ จึงควรให้ทางใบเสริมเป็นระยะๆ








5. เพลี้ย ปลวก และแมลงต่างๆ มักจะระบาดในช่วงหน้าแล้ง ควรตรวจสอบและกำจัดอย่างต่อเนื่อง เพราะจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตอย่างแน่นอน



 หากมีการดูแลดีตั้งแต่ต้นยังเล็กมันจะมีความแข็งแรง ทนทานต่อความแห่งแล้งและทนทานต่อโรคได้  และมีผลผลิตที่ดีได้


ที่มา : ส. สำอางค์
หรือติดตามได้ที่ : https://www.facebook.com/profile.php?id=100008455800755 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความเป็นมา เมื่อปี 201ที่เริ่มก้าวเข้ามาสู้ธุระกิจการเกษตรอย่างจริงจัง ด้วยการทำไร่กระเจี๊ยบแดงที่ประเทศลาว และได้ขยายฐานการผลิตเข...